ศูนย์วิจัยกสิกรฯชวนเกษตรกรไทยรายเล็กรวมกลุ่มทำนาแปลงใหญ่ ใช้โดรนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โชว์ตัวเลขปี 60 ลดต้นทุน 1,100 ล้านบาท
รายงานข่าวจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยแจ้งว่า โดรนเพื่อการเกษตรเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในฐานะเครื่องมือทางการเกษตรมีความแม่นยำสูง ซึ่งกำลังมาแรงในยุคเกษตร 4.0 ที่เน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ลดต้นทุนการผลิตประหยัดเวลา และประหยัดการใช้แรงงานคนท่ามกลางภาวะที่แรงงานภาคเกษตรมีแนวโน้มปรับตัวลดลง และควบคุมคุณภาพการผลิตของสินค้าเกษตรได้อย่างแม่นยำ
ทั้งนี้ หากไทยนำเทคโนโลยีโดรนเข้ามาประยุกต์ใช้ตามนโยบายนาแปลงใหญ่ของภาครัฐในปี 60 จะทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตได้รวม 1,100 ล้านบาท และคาดว่าจะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ 6,000 ล้านบาทในอีก 4 ปีข้างหน้า ภายใต้สมมติฐานของพื้นที่เป้าหมายนาแปลงใหญ่ที่ 1,512 แปลงในปี 60 และ 7,000 แปลงในปี 64
“แม้ปัจจุบันการใช้โดรนเพื่อการเกษตรในประเทศไทยจะยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก แต่คาดว่าในอนาคตจะถูกลง เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตโดรนมีการแข่งขันกันหลายบริษัท ประกอบกับความนิยมใช้ โดรนของเกษตรกร ผู้ประ กอบการที่มีมากขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องทุ่นแรง รวมทั้งเทรนด์ของสินค้าพวกเทคโนโลยีที่จะปรับลดราคาลดลงอย่างรวดเร็วตามเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น ซึ่งประเมินว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าหรือปี 65 ราคาโดรนเพื่อการเกษตรอาจลดลง 20-25% ต่อปี อยู่ที่ 67,000-106,000 บาท จากราคาเปิดตัวในปี 58 ที่ 300,000-500,000 บาท”
อย่างไรก็ตาม ในปี 63 มูลค่าตลาดโดรนเชิงพาณิชย์ของโลกอาจอยู่ที่ 127,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 4.4 ล้านล้านบาท โดยโดรนเพื่อการเกษตรคาดว่าจะมีมูลค่าตลาดโดรนสูงเป็นอันดับ 2 ที่ 32,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากในประเทศที่การเกษตรมีความก้าวหน้าสูง โดรนจะมีราคาถูก เพื่อนำไปใช้ในการสำรวจพื้นที่ทางการเกษตรขนาดใหญ่ รวมถึงวิเคราะห์ดิน การปลูกเมล็ดพันธุ์ และคาดการณ์เวลาในการเก็บเกี่ยวได้อย่างแม่นยำด้วย ความสามารถในการสร้างแผนที่ในรูปแบบสามมิติ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถวิเคราะห์และวางแผนในการเพาะปลูกได้ง่ายขึ้น ซึ่งแสดงถึงแนวโน้มที่ดีของความต้องการใช้โดรนเพื่อการเกษตรในอนาคต
“เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงมีการทำเกษตรแปลงเล็ก ทำให้ไม่สามารถได้รับการสนับสนุน อีกทั้งการลงทุนเทคโนโลยีดังกล่าวสาหรับเกษตรแปลงเล็กก็จะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้นเกษตรกรอาจพิจารณาการรวมกลุ่มกันทันทำเกษตรแปลงใหญ่ตามแนวทางของภาครัฐที่วางไว้ นอกจากนี้ภาครัฐควรสร้างความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยี และการมีส่วนร่วมของเกษตรกรมากขึ้น เพื่อให้เกษตรกรยอมรับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เข้ามา รวมถึงภาครัฐควรพิจารณาความคุ้มค่าในการลงทุนด้านเทคโนโลยีเข้ามาใช้ด้วย”
ที่มา www.cyto.biz (ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยมูลค้างคาว ปุ๋ยไซโต)
Comentários