เกษตรพอเพียง การเกษตรที่สร้างความสุขง่ายๆ ให้ชีวิต แต่มั่นคงและยั่งยืน
เกษตรพอเพียง การทำความสุขง่ายๆ ให้ชีวิต แต่มั่นคง และยั่งยืน “ พอเพียง ” คำนี้มีความหมายที่เราทุกคนต่างรู้กันดี มันคือความพอดีในทุกสิ่งของการดำเนินชีวิต ไม่ว่าเราจะสิ่งใดก็ตามเรามีคำว่า พอเพียง ชีวิตย่อมสามารถพบความสุขได้โดยง่าย และเมื่อเรานำคำนี้มารวมกับการทำเกษตรกรรม จึงเกิดเป็นแนวคิด “เกษตรทฤษฎีใหม่” หรือการทำสวนแบบพอเพียงนั่นเอง
ในวันนี้เราจึงอยากพาเพื่อนๆ ทุกคน ตามดูรายละเอียดต่างของ การทำสวนแบบพอเพียง ตามแบบของ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ผู้ที่นิยามคำว่า “ พอเพียง “ ให้ประชาชนชาวไทยทุกคน ในหลวง รัชกาลที่ 9 เคยดำรัสเอาไว้ในเรื่องของการเกษตรแบบพอเพียงว่า “ การทำกาเกษตรแบบพอเพียงนั้น คือการพึ่งพาตนเองได้ในทุกสถานการณ์ ด้วยการจัดการทรัพยากรแบบยั่งยืน “ ด้วยวิธีเหล่านี้
1. การแบ่งพื้นที่เพื่อการใช้สอย
เราต้องรู้จักพื้นที่เพราะปลูกของเราเสียก่อนว่าเป็นเช่นไร ทั้งสภาพดิน ทางลม แสงแดด น้ำ จากนั้นแบ่งพื้นของเราออกเป็นส่วนดังนี้ 3 / 3 / 3 / 1 เพื่อจัดส่วนต่างๆ ในการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ขุดบ่อน้ำ พืชล้มลุก และพืช ผลไม้ยืนต้น
นอกจากนี้อาจจะมีในส่วนของโรงเรือน และฟาร์มเล็กๆ หากมีพื้นที่เพียงพอ แต่ใครที่มีคับแคบไม่สามารถใส่รายละเอียดตามนี้ได้ทั้งหมด ก็สามารถตัดออกได้ตามแต่ละปัจจัย เพื่อให้เหมาะสมกันสถานที่ของเรามากที่สุด
2. DIY ตามแนวทางเกษตรพอเพียง
ความคิดสร้างสรรค์ และการปรับเปลี่ยนเพื่อสามารถนำมาใช้งานได้จริง โดยในตัวอย่างนี้เราจะยกเรื่องการลำเลียง และการจัดการน้ำของในหลวง รัชกาลที่ 9 ท่านทรงให้จัดการน้ำอย่างเป็นระบบ มีการจัดการบ่อกักเก็บส่วนหนึ่ง
การต่อท่อลำเรียงไปยังส่วนของแปลงเกษตร นอกจากนี้ยังสามารถเลี้ยงปลาในบ่อกักเก็บน้ำเพื่อเป็นอาหาร หรือปลูกพืชน้ำอย่างผักกระเฉดได้เช่นกัน จะเห็นได้ว่าเป็นการใช้ทุกอย่างเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3. การปรับดินให้มีคุณภาพตามธรรมชาติ
เมื่อทำการเกษตร เราย่อมต้องมีการปรับสภาพดินให้เหมาะแก่การเพราะปลูก แต่ว่าหลายวิธีอาจจะมีค่าใช้จ่ายมาก เพราะฉะนั้นเราสามารถปรับสภาพได้โดยง่ายหากทำตามวิธีเหล่านี้
เช่น การพรวนดินเพื่อเปิดหน้าดินให้ได้รับแสงแดด เป็นเรื่องเบื้องต้น จากนั้นเราสามารถนำมูลสัตว์ ที่เราได้เลี้ยงเอาไว้มาใช้บำรุงดินได้ โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากนัก
4. ประหยัดน้ำด้วยการใช้กระถาง
การเลือกใช้ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเรื่องของการประหยัดน้ำ จะเห็นว่ากระถางนั้นมีกรวัสดุที่หลากหลายมาผลิต หากว่าเราเลือกกระถางที่ทำจากโลหะหรือสังกะสี อาจะทำให้น้ำระเหยได้ง่าย ดินขาดความชุ่มชื้น และเก็บความร้อนมากเกินไป และเราต้องลดน้ำบ่อยขึ้นทำให้สิ้นเปลืองน้ำโยใช่เหตุ
ดังนั้นแล้วเราควรเลือกกระถางที่ผลิตจากดิน หรือว่าเราจะนำมาปรับเปลี่ยนตามสิ่งที่เรามีก็ได้เช่นกัน เช่น น้ำขวดพลาสติกมาทำกระถางเพื่อลดปริมาณขยะ และสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายทาง
5. ผสมปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยอินทรีย์ ถือว่าเป็นปุ๋ยที่เราได้มาจากธรรมชาติจึงทำให้มีประโยชน์มาก ทั้งปลอดภัยไร้สารพิษและประหยัด โดยปุ๋ยอินทรีย์ แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ ปุ๋ยหมักจากซากพืชซากสัตว์ และปุ๋ยพืชสดจากพืชหน้าดินที่ย่อยสลาย ซึ่งสามารถทำปุ๋ยหมักเองได้ตามเทคนิคต่อไปนี้
– ปุ๋ยน้ำหมัก
หากว่าเรามีมูลสัตว์ ให้เรานำมูลสัตว์มาผสมเข้ากันใยไม้แห้ แกลบ หรือว่าฟางได้ โดยใช้อัตราส่วนที่ 1 ส่วน ต่อ รำ 1 ส่วน ผสมให้เข้ากันและพักเอาไว้ จากนั้นให้ใช้กากน้ำตาล 40 ซี.ซี จุลินทรีย์ 40 ซี.ซี. และน้ำเปล่า 10 ลิตร ผสมให้เข้ากัน แบบไม่ต้องเหลว และไม่ต้องแห้งมาก เอาแบบกำลังดี จากนั้นทิ้งเอาไว้ประมาณ 10 วันเราก็จะได้ปุ๋ยน้ำหมัก ซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีต่อการเกษรทุกชนิด
– หลุมหมักปุ๋ยฉบับ DIY
ในแถบแอฟริกานิยมใช้วิธี เราจึงได้นำมาปรับใช้ในบ้านของเรา เริ่มต้นที่ก่อแปลงปลูกให้เป็นวงกลม และมีความสูงพอสมควร จากนั้นขุดบ่อเอาไว้ตรงกลางแปลง เราจะได้นำซากพืช หรือสิ่งต่างๆ ที่สามารถย่อยสลายได้ใส่ลงไป แล้วใช้ใบไม้แห้ง หรือฟางคลุมทับอีกครั้ง เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อย
6. ความชุ่มชื้นของดิน
ถือว่าเป็นอีกสิ่งที่เราจะปล่อยไปไม่ได้ การรักษาความชุ่มชื้นของดิน เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เรามาดูวิธีง่ายๆ ซึ่งสามารถทำได้โดยแทบจะไม่ต้องลงทุนเลยสักบาท ให้เรานำเศษทิชชู หรือว่าแพมเพริ์สที่เป็นของใหม่ มาวางรองเอาไว้ใต้กระถาง หรือจะเป็นพวกเสื้อไหมพรมโดยเอามาคลุมหน้าดินด้วยแกลบ จะให้ดีปลูกหญ้าแฝกเอาไว้รอบๆจะช่วยได้มาก
7. ปลูกผักสวน
การปลูกผักสวนครัว ถือว่าเป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการทำสวนแบบพอเพียง ด้วยสภาพอากาศในประเทศไทยนั้นมีหลากหลายฤดู ทำให้เราไม่สามารถปลูกทุกอย่างได้ตามต้องการ เราต้องปลูกตามฤดูเท่านั้น เพราะฉะนั้นการปลูกพืชผักสวนครัวที่หลาก ย่อมทำให้เราได้ผลผลิตอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
– ในฤดูร้อน สิ่งที่เหมาะสมกับการปลูกตามฤดู คือ มะระ ผักชี ผักกาดหอม ถั่วฝักยาว บวบ น้ำเต้า ข้าวโพดหวาน เป็นต้น
– ในฤดูฝน (ช่วงต้น) สิ่งที่เหมาะสมกับการปลูกตามฤดู คือ กวางตุ้ง ถั่วฝักยาว ผักกาดหอม ผักบุ้ง แตงกวา คะน้า กระเจี๊ยบเขียว พริก บวบ มะเขือ เป็นต้น
– ในฤดูฝน (ช่วงปลาย) สิ่งที่เหมาะสมกับการปลูกตามฤดู คือ มะเขือเทศ แครอท ผักชี กะหล่ำปลี กระหล่ำดอก หอมใหญ่ ขึ้นฉ่าย พริกหยวก ถั่วลันเตา
– ในฤดูหนาว สิ่งที่เหมาะสมกับการปลูกตามฤดู คือ มะเขือเทศ ผักกาดขาว ตั้งโอ๋ บรอกโคลี หอมใหญ่ ถั่วพู ขึ้นฉ่าย
8. ประเภทของพืชหลัก ๆ ที่เราควรปลูก
นอกจากเรื่องของการแบ่งพื้นที่แล้ว เรายังต้องกำหนดว่าจะปลูกอะไรบ้างโดยหลักๆ แล้วสิ่งที่ควรปลูกจะมีดังนี้
– สิ่งที่ควรปลูก พืชผัก-ผลไม้แบบยืนต้นเช่น ลำไย มะม่วง กล้วย มะนาว ขนุน มะละกอ และมะรุม
– สิ่งที่ควรปลูก พืชผักและไม้ล้มลุกเช่น ถั่วฝักยาว ข้าวโพด มันเทศ มะลิ ซ่อนกลิ่น และมะเขือ
– สิ่งที่ควรปลูก พืชสมุนไพร เช่น พริกไทย กะเพรา โหระพา ตะไคร้ ข่า บัวบก สาระแหน และพลู
– สิ่งที่ควรอีกอย่าหงนึ่ง คือเห็ดชนิดต่าง โดยสามารถเลือกได้ตามความชอบ
9. การไล่แมลงแบบไร้สารพิษ
ปัญหาเรื่องแมงถือว่าเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวมาก โดนส่วนมากหลายคนเลือกที่จะใช้สารเคมีในการกำจัด แต่ว่าหากใช้สูตรการทำสวนแบบพอเพียงเรามีวิธีที่สามารถกำจัด แมง และวัชพืชได้โดยง่าย และประหยัดอีกด้วย โดยเบื้องต้นนี้เราจะแนะ 2 วิธีที่นิยมกันมากที่สุด
1. สะเดา
ให้เรานำเมล็ดของมันออกมา จากนั้นก็ล้างให้สะอาด และผึ่งแดดเอาไว้ 4 วัน จากนั้นยำมาบดให้ละเอียดก่อนไปผสมกับน้ำเปล่า แล้วทิ้งเอาไว้ให้ตะกอนจากนั้นกรองด้วยผ้าขาวบาง สามารถนำไปฉีดเพื่อพ่นได้ตามปกติ
2. มะเขือเทศ
ผล และลำต้นของมะเขือเทศ สามารถนำมาบดให้ละเอียด จากนั้นผสมกับน้ำขี้เถ้า แล้วกรองให้เรียบร้อย สามารถนำไปฉีดพ่นได้เช่นกัน
10. แบ่งปันผลผลิต
การทำสวนแบบพอเพียง นอกจากเราจะได้ประโยชน์แล้ว เราสามารถแจกจ่ายให้กับเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีอันพึงมีต่อมิตร เพื่อให้รับความพึงพอใจ และเป็นการแลกเปลี่ยนน้ำใจตลอดจนการพบปะพูดคุย เพื่อสร้างความสัมพันธ์ ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการดำเนินชีวิตตามหลักของ ในหลวง อีกด้วย
ตัวอย่างของผู้ที่ทำเกษตรกรรมแบบพอเพียง
คุณยศพนธ์ ทัพพระจันทร์ ชาวสิงห์บุรี ผู้ที่ได้ออกมาเล่า และบรรยาถึงหลัก และวิธีการทำเกษตรแบบพอเพียง บนพื้นที่ 2 ไร่ อย่างแรกคือการทำ 2 กิจกรรม ขึ้นไป เพื่อลดความเสี่ยง ใช้ปัจจัยผสมผสาน ใช้การปฏิบัติ และดูแลบำรุงรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทุกอย่างเน้นที่การลดต้นทุนเพื่อการดำรงชีพที่มั่นคง
ร้อยตรีบัญชา เพ็ชรรักษ์ ชายอีกคนที่ทำเกษตรผสมผสานบนพื้นที่ 2 ไร่ ได้เล่าให้เราฟังว่า ต้องเรียนรู้เสริม ศึกษา และทดลองจนเกิดความชำนาญก่อนเป็นอย่างแรก จากนั้นจึงจะสามารถตัดสินใจทำเกษตรผสมผสานได้อย่างดี โดยเขาปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ทั้ง 2 อย่างไปพร้อมกันเพื่อลดความเสี่ยง จำทำให้มีผลผลิตเพื่อบริโภค และยังเหลือขายอีกด้วย โดยการดำเนินการดังนี้
ส่วนหนึ่งจัดเป็นบ้านพัก อีกส่วนให้จัดทำแปลงเพาะปลูกไม้ผล และผัก จากนั้นส่วนที่สามให้เป็นพื้นที่ของการเลี้ยงสัตว์ และแหล่งกักเก็บน้ำ
ร้อยตรีบัญชา เพ็ชรรักษ์ ได้เล่าถึงรายละเอียดว่า หลักๆ แล้วเขาจะเลี้ยงหมู ซึ่งเป็นหมูแม่พันธุ์ และหมูขุน โดยสร้างโรงเรือนเอาไว้ห่างจากบ้านพอสมควร และเป็นที่ดอนเพื่อจะได้ไม่มีน้ำขังเวลาที่ต้องทำความสะอาดคอกหมู ส่วนมูลของหมูที่ได้ก็สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยที่เอาไว้ในการเกษตร ซึ่งสามารถนำมาใส่น้ำหมักชีวภาพได้ ส่วนมูลแห้งก็สามารถใช้ได้เลย การทำบ่อบำบัด ต้องอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าพื้นคอกหมู ฉาบด้วยปูนซีเมนต์
นอกจานี้ยังเลี้ยงไก่ไข่เอาไว้จำนวน 15 ตัว ซึ่งจะสามารถเก็บไข่ได้วันละ 10 – 14 ฟอง โดยอาหารของไก้นั้นจะปล่อยให้ไปกินเศษอาหารจากหมูที่เหลือแล้ว หรือเศษผักต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้เพื่อลดต้นทุน และยังทำให้ไก่มีสุขภาพอีกด้วย
การปลูกพืช ถือว่าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ ร้อยตรีบัญชา ที่ทำอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการปลูกพืชอายุสั้น เพราะว่าสามารถเก็บผลได้เร็ว นำมาทานจำนวนหนึ่ง และที่เหลือก็สามารถนำมาขายได้ เช่น กะเพรา ข่า ผักโขม ผักสลัด นอกจากนี้ยังมีผลไม้ต่างเช่น กล้วยหอม กล้วยเล็บมือนาง มะนาว ฝรั่ง เป็นต้น
3 หลักของการเกษตรแบบพอเพียงแบบพื้นที่จำกัด แต่ได้ความสุขทั้งการบริโภค และทางใจ
1. สำรวจ และสอบถามสมาชิกทุกคนในครอบครัวว่าอยากปลูกอะไร โดยเน้นความพึงพอใจเพราะว่าสมาชิกทุกคนต้องช่วยกันดูแล ทั้งชนิดของพืชผัก และปริมาณที่เหมาะสม ยิ่งได้สิ่งที่ชอบทานเป็นประจำจะยิ่งดีมาก เพราะว่าจะลดค่าใช้จ่ายในการทานอาหารลงไปได้ส่วนหนึ่ง
2. พื้นที่อันเหมาะสม โดยต้องมีการแบ่งพื้นให้ถูกต้อง สามารถปลุกได้ทั้งไม้ล้มลุก และไม้ยืนต้นไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจะให้มีผลผลิตหมุนเวียนตลอดทั้งปี
3. เทคนิคการปลูกพืชผักวิธีต่างๆ ตามหลักพอเพียงในพื้นที่จำกัด
3.1 ทำเกษตรบนคันดิน
การทำเกษตรบนคันดิน คือการทำคันดินปลูกผัก วิธีให้เราสังเกตจุดที่มีต้นไม้หรือกิ่งไม้ที่ล้มที่ร่วงทับถมกัน เพราะบริเวณนี้จะมีความชื้นมาก และจะดูได้ง่ายเช่นมีมีตะไคร่ มอส หรือเห็ดเกาะอยู่ ซึ่งหากเราทำการเพาะปลูกบริเวณนี้จะได้ผลิตที่งอกงามตามสภาพของดิน
3.2 ผักในกระถาง
หากเรามีพื้นจำกัดมาก เราก็สามารถปลูกผักได้เช่นกัน โดยเราสามารถนำกระถางมาเป็นที่เพาะปลูก ซึ่งเป็นไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ที่ไม่มีพื้นที่ เช่นมีเพียงบ้านเดี่ยว หรือบางคนอยู่คอนโดก็สามารถทำได้ บางคนนิยมปลูกผักที่เลื้อยตามรั้ว หรือใช้ ถังแตก ลังไม้ หรือขวดพลาสติกก็ได้
แนะนำให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพราะปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อหน้าดินและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ปุ๋ยอินทรีย์ที่ดีจะต้องมีธาตุอาหารครบถ้วนจึงจะทำให้พืชพรรณ ต้นไม้เจริญงอกงามได้อย่างสมบูรณ์
ปุ๋ยอินทรีย์ไซโต ถือเป็นปุ๋ยที่ได้รับความนิยมจากเกษตรกรเป็นอย่างมาก ปุ๋ยไซโตมีคุณสมบัติและส่วนประกอบที่พืชต้องการครบถ้วน เพราะผลิตจากมูลค้างคาวที่ผ่านการตรวจสอบเรื่องธาตุอาหารที่ครบสมบูรณ์มากๆและยังมีฮอร์โมนไซโตไคนินที่เข้มข้น ปุ๋ยไซโต มีส่วนประกอบหลัก 8 อย่าง อาทิเช่น ฮอร์โมนไซโตไคนิน สารคีเลต จุลินทรีย์ มูลค้างคาว ฯลฯ ช่วยให้ต้นไม้ของคุณงอกงาม ไม้ผล ผลผลิตสูง
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ 089-9803982 , 093-4696289
ที่มา www.cyto.biz (ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยมูลค้างคาว ปุ๋ยไซโต)
Comentarios