สรรพคุณทางยาของสะตอก็เช่น ช่วยให้เจริญอาหาร ลดระดับน้ำตาลในเลือด จึงป้องกันโรคเบาหวาน เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ ขับลม แก้อาการปัสสาวะกะปริดกะปรอย ลดความดันโลหิต และยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นโรคเกาต์ไม่ควรกินสะตอ เนื่องจากมีกรดยูริกค่อนข้างสูง อาจไปสะสมตามข้อต่าง ๆ จนทำให้เกิดอาการอักเสบ
วิธีดับกลิ่นสะตอ วิธีดับกลิ่นสะตอ เมื่อรับประทานสะตอเข้าไปแล้ว หลังรับประทานเข้าไปจะมีกลิ่นปาก ซึ่งเราสามารถกำจัดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์นี้ได้ด้วยการรับประทานมะเขือเปราะตามไปประมาณ 2-3 ลูก หรือ ให้กินแตงกวา หรือ เคี้ยวใบอ่อนฝรั่งตามเข้าไปหลังจากกินสะตอ และก่อนนำไปปรุงอาหาร ให้ลวกสะตอด้วยน้ำร้อนแล้วล้างน้ำอีกรอบ ก็จะช่วยดับกลิ่นเหม็นเขียวของสะตอได้ดีในระดับหนึ่ง
เมล็ดสะตอจะมีกลิ่นเหม็นเขียวรุนแรงมาก นิยมใช้ประกอบอาหารในแถบภาคใต้ และในประเทศอื่นๆ อย่างเช่น อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ลาว พม่า และสิงคโปร์ ก็นิยมนำสะตอมาทำเป็นอาหารรับประทานเช่นกัน
สะตอเป็นผักที่มีผู้นิยมกินมากชนิดหนึ่ง กินได้ทั้งยอดอ่อนและเมล็ด แต่นิยมกินเมล็ดมากกว่า (ถึงแม้เมล็ดจะมีกลิ่นเฉพาะตัวที่ค่อนข้างจะกลิ่นแรง) โดยกินเป็นผักแกล้ม (ทางได้เรียกเป็นผักเหนาะ) คือกินกับน้ำพริกหรือแกงเผ็ดต่าง ๆ แกงกะทิ แกงส้ม โดยนิยมกินเมล็ดสดทั้งแกะเปลือกหรือไม่แกะเปลือกหุ้มเมล็ด มีรสชาติมัน บางคนนำเมล็ดสะตอไปดัดแปลงโดยน้ำมาดอง ต้มหรือนำเอาทั้งฝักไปเผาไฟ เรียกว่า “ตอหมก” นอกจากกินเป็นผักแกล้มแล้ว ยังใช้เมล็ดปรุงอาหารได้อีกด้วย เช่น ผัดเผ็ด ผัดกะปิกุ้งสด และต้มกะทิ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Parkia speciosa Hassk.. วงศ์ LEGUMINOSAE จัดอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (Mimosoideae) เช่นเดียวกับกระถิน กระถินณรงค์ กระถินเทพา ชะเอมไทย ผักกระเฉด ต้นแดง ไมยราบ และเหรียง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ สะตอเป็นไม้ยืนต้น ความสูงประมาณ 30 เมตร ลำต้นตั้งตรง ออกกิ่งก้านอยู่บริเวณส่วนบนของลำต้น ใบเป็นใบประกอบดอกออกเป็นช่อรวมกันเป็นกระจุกคล้ายกระถินมีขนาดเล็ก ช่อหนึ่งมี 3 – 16 ดอก ออกดอกช่วงเดือนเมษายน หลังจากนั้น 70 วัน สามารถเก็บฝักได้ สะตอโดยทั่วไปที่นิยมปลูกในบ้านเรามี 2 ชนิด คือ สะตอดาน ลักษณะฝักแบนตรงไม่บิดเบี้ยว ฝักยาวประมาณ 1 ฟุต กว้างประมาณ 2 นิ้ว ในหนึ่งฝักมีประมาณ 10 – 20 เมล็ด แต่ละช่อจะมีประมาณ 8 – 15 ฝัก มีกลิ่นฉุนจัด เนื้อเมล็ดแน่น อีกชนิดหนึ่ง คือสะตอข้าว ลักษณะฝักบิดเป็นเกลียว ขนาดของฝักใกล้เคียงกับสะตอดาน แต่กลิ่นไม่ฉุนเท่าสะตอดาน และเนื้อเมล็ดไม่ค่อยแน่น
- ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นค่อนข้างตรง เปลือกหนาสีน้ำตาลปนเทา ผิวค่อนข้างเรียบ เนื้อไม้สีเปลือกไข่แก่นสีแดง สูงประมาณ 30 เมตร
- ใบ เป็นพวกใบประกอบ ก้านทางใบยาว 18-63 เซนติเมตร ก้านทางใบย่อยยาว 6-14 เซนติเมตร ก้านทางใบย่อยจะแยกออกเป็นคู่ ๆ จากก้านทางใบ มีจำนวน 14-27 คู่ เส้นผ่าศูนย์ กลาง 1-2 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 5-14 เซนติเมตร มีใบย่อยแตกออกด้านข้างของแกนจำนวน 31-41 คู่ต่อหนึ่งทางใบย่อย มีใบจำนวน 62-82 ใบ ใบมีลักษณะคล้ายใบพายกว้าง 1.5-2.2 มิลลิเมตร ยาว 5-9 มิลลิเมตร ก้านทางใบย่อยแต่ละก้านอยู่ห่างกันประมาณ 2.5 เซนติเมตร
- ราก ต้นที่ปลูกจากเมล็ดจะมีรากแก้วหยั่งลึกลงดิน ประมาณ 1.5-3 เมตร รากแขนงจะแผ่กระจายห่างจากลำต้น 3-8 เมตร
- ดอก ดอกสะตอออกเป็นช่อ แบบหัว คือ ช่อดอกเกิดรวมเป็นกระจุก คล้ายดอกกระถินจากบริเวณซอกใบที่ปลายยอดกิ่งด้านนอกทรงพุ่มมีขนาด 2 x 5 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาว 20-30 เซนติเมตร ช่อดอกหนึ่งมี 3-16 ดอก ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกเมื่อได้รับการผสมแล้วจะมีสีเหลือง รังไข่จะพัฒนาไปเป็นฝักอ่อน ซึ่งเกิดเป็นแกนกลางของดอก และเจริญไปเป็นฝักต่อไป
- ฝัก เกิดจากรังไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว มีลักษณะตรงหรือบิดเบี้ยว สีต่อนข้างเขียว อยู่ในลักษณะห้อยจากตุ่มดอก ดอกหนึ่ง ๆ จะมีฝักตั้งแต่ 2-24 ฝัก ฝักยาว 36-45 เซนติเมตร กว้าง 3-5 เซนติเมตร ริมฝักหนา 0.2 เซนติเมตร ฝักแก่เปลือกฝักจะเปราะและหักง่าย เมื่อสุกเปลือกนอกจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาลไหม้เกือบดำ
- เมล็ด เกิดจากรังไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว มีลักษณะตรงหรือบิดเบี้ยว สีต่อนข้างเขียว อยู่ในลักษณะห้อยจากตุ่มดอก ดอกหนึ่ง ๆ จะมีฝักตั้งแต่ 2-24 ฝัก ฝักยาว 36-45 เซนติเมตร กว้าง 3-5 เซนติเมตร ริมฝักหนา 0.2 เซนติเมตร ฝักแก่เปลือกฝักจะเปราะและหักง่าย จะเรียงอยู่ตามแนวขวางกับฝัก มีรูปร่างเป็นรูปไข่ หยดน้ำวงรี และกลม ขนาดกว้าง 15-20 มิลลิเมตร ยาว 22.5-25 มิลลิเมตร ฝักหนึ่งมีเมล็ด 6-32 เมล็ด สีของเมล็ดจะมีลักษณะสีเขียวอ่อนและสีเขียวเข้ม
สรรพคุณ “ตามตำราไทยใช้เมล็ดขับลมในลำไส้ แก้ปัสสาวะปวดขัดหรือกะปริบกะปรอย หรือขุ่นข้น หรือมีเลือดไหล หรือเกี่ยวกับไตพิการ ที่ปัสสาวะมีสีขุ่นข้น เหลืองหรือแดง และมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้ แพทย์แผนโบราณเชื่อว่าสะตอช่วยลดน้ำตาลในเส้นเลือดได้ ผู้ที่กินสะตอเป็นประจำจึงเป็นการป้องกันโรคเบาหวานได้ด้วย
ประโยชน์ของสะตอ
ประโยชน์สะตอมีส่วนช่วยบำรุงสายตาช่วยทำให้เจริญอาหารช่วยป้องกันหลอดเลือดอุดตันประโยชน์ของสะตอ ช่วยลดความดันโลหิตช่วยทำให้เม็ดเลือดแดงเกาะกลุ่มกันได้ดีขึ้นมีผลต่อการแบ่งตัวของเซลล์สะตอประโยชน์ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดเชื่อว่าการรับประทานเป็นประจำจะช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้
สรรพคุณของสะตอ
- ช่วยขับลมในลำไส้
- ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้
- สะตอ สรรพคุณช่วยในการขับปัสสาวะ
- สรรพคุณสะตอ มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ช่วยในการขับถ่าย
- แก้ปัสสาวะพิการ
- ช่วยแก้ไตพิการช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
- ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา
สะตอทําอะไรได้บ้าง เช่น สะตอผัดกุ้ง แกงป่าใส่สะตอ สะตอผัดกะปิกุ้งสด เป็นต้น และยังใช้แปรรูปเป็นสะตอดองได้อีกด้วย ส่วนยอดสะตอนำมารับประทานเป็นผักเหนาะ ใบของสะตอใช้ทำเป็นปุ๋ยบำรุงดิน ลำต้นของสะตอใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน
ข้อควรระวัง ! : เนื่องจากสะตอมีกรดยูริกสูง สำหรับผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์หรือผู้ที่มีกรดยูริกในร่างกายสูงเกินค่ามาตรฐาน ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานสะเพราะอาจจะทำให้เกิดโรคเก๊าท์กำเริบได้ และกรดยูริกในร่างกายที่สูงก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ่ว โรคไตอักเสบ และมีอาการหูอื้ออีกด้วย
พันธุ์ มี 2 พันธุ์ โดยแบ่งตามลักษณะของฝักและรสชาติได้ดังนี้
สะตอข้าว ฝักมีลักษณะบิดเป็นเกลียว ยาว 31 เซนติเมตร กว้าง 3.5 เซนติเมตร เมล็ดมีขนาดเล็กค่อนข้างชิด ฝักหนึ่ง ๆ มี 10-20 เมล็ด ในแต่ละช่อ มี 8-20 ฝัก รสชาติมัน ไม่มีกลิ่นฉุนเนื้อเมล็ดไม่ค่อยแน่น สีของฝักเป็นสีเขียวอ่อน ขอบฝักชิดกับเมล็ดเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั่ว ไป อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 3-4 ปี
สะตอดาน ฝักมีลักษณะแบนตรง ยาว 32.5 เซนติเมตร กว้าง 3.9 เซนติเมตร เมล็ดมีขนาดใหญ่ ฝักหนึ่ง ๆ มี 10-12 เมล็ด แต่ละช่อมี 8-15 ฝัก รสชาติมัน มีกลิ่นฉุนจัด เนื้อเมล็ดแน่น ช่องว่างระหว่างเมล็ดห่างกัน ฝักมีสีเขียวแก่ขอบฝักจะห่างจากเมล็ดและมีขนาดหนา ผู้บริโภคชาวภาค ใต้นิยมรับประมาณ อายุการเก็บเกี่ยว 6-7 ปี
การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด /ใช้กิ่งปักชำ / การติดตา /การตอนกิ่ง / การเสียบยอด / การทาบกิ่ง
การปลูก สะตอขึ้นได้ดีในดินร่วนหรือดินเหนียวปนทราย ควรเป็นพื้นที่ที่มีเนื้อดินหนาประมาณ 2 – 3 เมตร และไม่มีลูกรัง หรือหินดานข้างล่าง การปลูกสะตอมี 3 วิธีดังนี้
การเพาะเมล็ด แกะเมล็ดออกจากฝักที่แก่เต็มที่ แล้วลอกเยื่อหุ้มเมล็ดออกให้เหลือแต่เมล็ดสีเขียว นำไปแช่น้ำ 1 คืน แล้วนำขึ้นมาสะเด็ดน้ำให้แห้งนำมาเพาะในถุงเพาะชำ หรือแปลงเพาะกล้ารดน้ำให้ชุ่ม แล้วรดน้ำทุกวันวันละ 1 – 2 ครั้ง เมื่อสะตอมีใบจริงรดน้ำวันละครั้ง เมื่อสะตอมีอายุ 2 เดือน ให้ปุ๋ยสูตร 12 – 24 12 ต้นละ 1/2 – 1 ช้อนแกง ใส่ให้ห่างจากโคนต้นมากที่สุดแล้วพรวนดินรดน้ำ หลังจากนั้นใส่ปุ๋ยสูตรเดิมนี้อีกทุกระยะ 2 เดือน เมื่อต้นสะตอมีอายุได้ 10 เดือน ย้ายไปปลูกได้
การติดตา ต้นตอที่ใช้คือ ต้นสะตอหรือต้นเหลียงที่มีอายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี เลือกกิ่งพันธุ์จากต้นที่ให้ผลผลิตสูง เลือกกิ่งตาบริเวณกิ่งที่ออกฝักและเป็นตาที่ตูมอยู่ นำมาต่อที่ต้นตอ ประมาณ 20 – 25 วัน ตัดต้นตอส่วนบนออกทิ้งไว้ประมาณ 15 -20 วัน ยอดใหม่จะเจริญออกมาจากาตาที่ติดไว้
การปักชำกิ่ง เลือกกิ่งที่ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป ตัดเป็นท่อนยาวประมาณ 10 – 12 นิ้ว นำไปปักชำ-ในกระบะทรายหรือขี้เถาแกลบ ทำร่มเงาและรดน้ำให้ชุ่มเมื่อต้นกล้าหรือกิ่งพันธุ์แข็งแรงพอที่จะย้ายลงปลูก ให้เตรียมหลุมปลูกขนาด 1 x 1 x 1 เมตร ใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุม ประมาณ 1 ปี๊บ และผสมปุ๋ยร๊อคฟอสเฟตลงไป วางต้นกล้าลงในหลุมแล้วกลบดินโดยรอบให้แน่น ใช้ไม้ปักให้แนบลำต้นแล้วผูกเชือกกันลม รดน้ำให้ชุ่ม ใช้เศษหญ้าคลุมโคนเพื่อรักษาความชื้นของดิน พรวนดินกำจัดวัชพืช และใส่ปุ๋ยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 1 – 2 บุ้งกี๋/ต้น หรือใช้ปุ๋ยสูตร 12 – 24 – 12 อัตรา 1 – 2 กิโลกรัม/ต้น ระยะปลูก : ระยะปลูก 12×12 ม.
วิธีปลูก : หลุมปลูกขนาด 1x1x1 ม. ใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟตรองก้นหลุม 1 กระป๋องนม ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 1 บุ้งกี๋ คลุกเคล้าแล้วกลบหลุมให้เต็ม เมื่อจะปลูกใช้จอบขุดดินในหลุมให้มีขนาดเท่ากับถุงที่ใช้เพาะพันธุ์ต้นกล้า วางต้นกล้าลงในหลุม ใช้ไม้ปุกแนบลำต้นผูกเชือกยึดกันลมโยก รดน้ำให้ชุ่ม ทำร่มเงา
การตัดแต่งและควบคุมทรงพุ่ม ตัดแต่งกิ่งก่อนการใส่ปุ๋ย ตัดกิ่งต่ำที่ระดิน กิ่งเป็นโรค กิ่งแห้งตาย กิ่งใบทรงพุ่มที่ไม่ได้รับแสงแดด หลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว ให้ตัดแต่งกิ่งโดยเร็ว ตัดก้านผลที่เหลือค้างออกให้หมด โดยตัดลึกเข้าไปอีกประมาณ 1 คืบเพื่อให้มีการแตกยอดใหม่ที่ดี
การให้ปุ๋ย
- ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ควรใส่ตั้งแต่เริ่มปลูก อัตรา 1-2 ปี๊บต่อต้นเมื่อให้ผลแล้วควรใส่อัตรา 3-4 ปี๊บต่อต้น โดยใส่หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วจะทำให้สะตอให้ผลผลิตสม่ำเสมอทุกปีปุ๋ย
- อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ใส่ก่อนออกฝักและสำหรับต้นที่ให้ฝักแล้วใช้อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง โดยครั้งแรกใส่ก่อนออกดอกและครั้งที่สองใส่หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต จากนั้นให้ทำการตัดแต่งกิ่งด้วย ควรใส่ปุ๋ยคอกร่วมด้วยอัตราการใส่ ควรเพิ่มขึ้นทุกปี ปีละประมาณ 0.5 กิโลกรัม
การให้น้ำ รดน้ำให้ชุ่มชื้นเสมอ สะตอที่ปลูกใหม่ในปีแรก ควรให้น้ำวันเว้นวันในช่วงหน้าแล้ง เมื่ออายุ 2-3 ปี ควรให้น้ำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ในช่วงหน้าแล้งควรหาเศษพืชคลุมโคนเพื่อรักษาความชื้นสำหรับต้นสะตอที่ให้ผลแล้วระยะที่ต้องการน้ำมาก คือช่วงระยะออกดอกถึงติดฝักจนเก็บเกี่ยวได้ ในช่วงฤดูฝน ควรเตรียมร่องระบายน้ำด้วย
โรคและศัตรูพืช โรค : ยังไม่มีงานวิจัยด้านโรคอย่างจริงจัง เท่าที่พบคือ อาการกิ่งแห้ง หรือเกษตรกรเรียกว่า กิ่งปลดทิ้ง
สาเหตุ อาจเนื่องมาจาก ความชื้น และความอุดมสมบูรณ์ของดินไม่เพียงพอ
แมลง : ด้วงปีกแข็งเจาะลำต้น/แมลงกัดกินใบ/แมลงสิง/ปลวก
ศัตร ู: กระกรอกและกระแต
การเก็บเกี่ยว สะตอจะเริ่มออกดอก ตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไป และจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ใช้ระยะเวลา 68-70 วัน ทั้งพันธุ์สะตอข้าวและสะตอดาน เริ่มให้ผลผลิตครั้งแรกอายุ 4-7 ปี ในต้นหนึ่ง ๆ จะให้ผลผลิตได้ประมาณ 200-300 ฝัก และจะให้ฝักเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปีตามอายุ
ลักษณะฝักที่พร้อมจะเก็บเกี่ยวได้ มีดังนี้ สีฝักจะมีลักษณะเป็นมันแววสีเขียวเข้ม เปลือกบริเวณหุ้มเมล็ดจะนูนเห็นเส้นเยื่อใยเด่นชัด รูปทรงสะดุดตา เปลือกหุ้มเมล็ดเมื่อแกะออกดูด้านในที่บริเวณขั้วของเปลือกจะเห็นเป็นสีส้มเข้มเล็กน้อย แสดงว่าใช้ได้แล้ว ชิมเมล็ดดูจะพบว่า เมล็ดพันธุ์สะตอข้าว จะมีรสชาติมันและค่อนข้างหวาน เนื้อเมล็ดค่อนข้างแน่น พันธุ์สะตอดานจะมีรสชาติค่อนข้างฉุน เนื้อเมล็ดแน่น
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว/การเก็บรักษา ทำความสะอาดหรือล้างฝักสะตอ คัดคุณภาพ และขนาดของฝักสะตอ บรรจุหีบห่อ โดยเอาลังไม้หรือกล่องกระดาษนำฝักสะตอมาเรียงตามยาว หากยังไม่มีการขนส่งไปจำหน่ายให้เก็บรักษาในอุณหภูมิต่ำ การรวบรวมฝักสะตอก่อนส่งขาย นิยมใช้วิธีการมัดสะตอรวมเป็นมัด ๆ แต่ละมัดจะมีฝักสะตอ 100 ฝัก โดยจะส่งให้พ่อค้าคนกลางซึ่งจะรับซื้อถึงสวน หรืออาจส่งไปขายที่ตลาด
ที่มา www.cyto.biz(ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยมูลค้างคาว ปุ๋ยไซโต)
Comments