คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ส้มตำ เป็นเมนูอาหารหลักของประเทศไทยไปแล้วก็ว่าได้ กินกันทุกภาค ทุกเพศ ทุกวัย และมีขายแทบจะทุกตรอก ซอกซอย ถ้าเป็นเขตภูมิประเทศ ก็เรียกว่าแทบจะย่อยแสนย่อยจะต้องมีร้านส้มตำ และเพื่อช่วยให้เกษตรกรไทยมีโอกาสปลูกมะละกอพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีลักษณะดีกว่าพันธุ์เดิม และตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้มากขึ้น ล่าสุด บริษัทเอกชน ได้ปรับปรุงมะละกอพันธุ์ใหม่ ที่ชื่อว่า พันธุ์ “ส้มตำ” โดยใช้ระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์ทั้งหมด 15 ปี ปัจจุบัน ได้จดทะเบียนสายพันธุ์เรียบร้อยแล้ว
บริษัทดังกล่าว ได้ปรับปรุงพันธุ์มะละกอทุกขั้นตอนโดยวิธีธรรมชาติ เริ่มจากตรวจสอบ ดีเอ็นเอ (DNA) ทุกสายพันธุ์ที่มีทั้งหมดว่า ปลอดจากกระบวนการตัดต่อพันธุกรรม (Non GMO) หลังจากนั้น ย้ายปลูกในสภาพไร่ เพื่อคัดสายพันธุ์ที่มีความทนทานต่อโรคไวรัสใบจุดวงแหวน จึงผสมคัดเลือกสายพันธุ์พ่อ แม่ ที่มีลักษณะผลที่ตรงตามความต้องการของตลาดส้มตำ และมีความทนทานต่อโรคไวรัส ทางบริษัทเน้นวิจัยเรื่องการเปลี่ยนเพศของดอกมะละกอในสภาพร้อนจัดและหนาวจัด ก่อนทำลูกผสม และทดสอบ เก็บข้อมูลในสถานีทดลอง และแปลงเกษตรกร เพื่อคำนวณผลผลิตต่อต้น น้ำหนักผล ความกว้าง ความยาว ความแน่นเนื้อ ความหนาเนื้อ อายุหลังการเก็บเกี่ยว ความทนโรคไวรัสใบจุดวงแหวน รวมทั้งเปรียบเทียบให้คะแนนรวม รสชาติ ความกรอบ ความหวาน ความทนโรค
คุณละไม ยะปะนัน นักปรับปรุงพันธุ์มือหนึ่งของบริษัทอีสท์เวสท์ ซีด (ประเทศไทย) หรือที่รู้จักกันในนาม บริษัทศรแดง กล่าวว่า มะละกอลูกผสม พันธุ์ส้มตำ เป็นสินค้าทางเลือกใหม่สำหรับเกษตรกรและผู้ส่งออกไทย เนื่องจากมะละกอพันธุ์นี้มีลักษณะเด่น คือ
ลำต้นใหญ่ แข็งแรง การติดผลดก ความสูงของดอกแรกต่ำ มีจำนวนข้อมากการให้ผลผลิตสูง มีช่อใหญ่ และมี 2-3 ผล ต่อช่อดอก เฉลี่ย 80-100 ผล ต่อต้นทนทานต่อสภาพอากาศหนาวจัดและร้อนจัดทนทานต่อโรคใบจุดวงแหวน ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส และโรครากเน่า ผลเน่า
“จุดเด่นของมะละกอลูกผสม พันธุ์ส้มตำ คือ กรอบ อร่อย เหมาะสำหรับทำส้มตำ เก็บไว้ 5-7 วัน ยังมีคุณภาพดี ทนทานต่อการขนส่ง ให้ผลเร็ว อายุการเก็บเกี่ยว 7-8 เดือน ทรงผลยาว 33-35 เซนติเมตร สีเนื้อเป็นสีเหลือง น้ำหนักเฉลี่ยผลละ 1.5 กิโลกรัม ความหวาน 13-14 บริกซ์ ที่สำคัญมะละกอพันธุ์นี้มีความทนทานต่อโรคใบจุดวงแหวนในระดับปานกลาง-สูง” คุณละไม กล่าว
สำหรับ พื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกมะละกอ พันธุ์ส้มตำได้จำนวน 213 ต้น โดยปลูกในระยะ 3×2.5 เมตร จะได้ผลผลิตต่อต้น เฉลี่ย 80 ผ
ล น้ำหนักผลเฉลี่ย 1.5 กิโลกรัม หรือประมาณต้นละ 120 กิโลกรัม คำนวณผลผลิตต่อไร่ ประมาณ 25,560 กิโลกรัม หรือ 20-25 ตัน ต่อไร่ เกษตรกรจะมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิต เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4 บาท หรือประมาณ 80,000-100,000 บาท ต่อไร่
ที่มา : www.cyto.biz (ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยมูลค้างคาว ปุ๋ยไซโต)
Comments