top of page

การใส่ปุ๋ยอ้อยและดูแลต้นอ้อยอย่างมีประสิทธิภาพ

อัปเดตเมื่อ 11 ก.พ. 2562


การใส่ปุ๋ยอ้อย ต้นอ้อยถือเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจของบ้านเรา เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตน้ำตาล กระดาษ พลาสติก ทำเชื้อเพลิงและให้เป็นอาหารสัตว์ จัดเป็นพืชที่สามารถใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมได้อย่างเต็มที่ในการเจริญเติบโต

ทั้งยังเก็บเกี่ยวได้หลายครั้งจากการปลูกเพียงครั้งเดียว แต่ไม่ว่าอ้อยจะเป็นพืชที่ปลูกง่ายอย่างไร ก็ยังมีสภาพแวดล้อมที่ชอบอยู่ นั่นก็คืออากาศที่ร้อนชื้น และสภาพแวดล้อมที่ดีนั่นเองที่จะทำให้ได้ผลผลิตจากอ้อยแบบเต็มประสิทธิภาพ

การเพาะปลูกต้นอ้อยจะเริ่มจากการเตรียมท่อนพันธุ์เป็นอันดับแรก อาจจะเลือกจากไร่อ้อยที่มีอยู่ในพื้นที่ก็ได้ เพราะเป็นการันตีเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์แล้วว่า ยังไงก็ปลูกขึ้นอย่างแน่นอน นอกจากนี้การเลือกสายพันธุ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นอยู่แล้ว

จะเป็นการลดความเสี่ยงเรื่องของการเกิดโรคพืชและแมลงต่างๆ ได้ดี แต่ถ้าหากไม่มีก็ให้เลือกซื้อจากแหล่งเพาะพันธุ์ โดยดูจากสิ่งต่างๆ เหล่านี้

– พันธุ์อ้อยมีความสมบูรณ์ตรงตามสายพันธุ์ นั่นหมายความว่าเราจะต้องศึกษาเกี่ยวกับสายพันธุ์ที่สนใจไปก่อนว่ามีลักษณะอย่างไร ท่อนพันธุ์นั้นต้องมีอายุประมาณ 8–10 เดือน ไร้ซึ่งโรคและแมลง

– บริเวณตาอ้อยต้องสวยได้รูป ไม่บิดเบี้ยวหรือหงิกงอ มีกาบแข็งปกปิดเอาไว้อย่างดี

– ในหนึ่งท่อนพันธุ์ควรมีตาประมาณ 3–4 ตา เพื่อให้เกิดการแตกหน่อได้ง่าย

วิธีการปลูกต้นอ้อย

การปลูกอ้อยสามารถทำได้ 2 รูปแบบคือ ใช้แรงคนในการปลูกและใช้เครื่องจักรในการปลูก ซึ่งแน่นอนว่าการใช้เครื่องจักรนั้นต้นทุนสูงกว่ามาก แต่ก็ได้เปรียบในเรื่องของเวลา เริ่มจากทำการเตรียมดินเพื่อยกร่องขนาด 1.5 เมตร

จากนั้นก็วางท่อนพันธุ์อ้อยแบบเรียงเดี่ยวหรือเรียงคู่ก็ได้ แล้วค่อยกลบดินทับให้หนาราวๆ 5 เซนติเมตรในฤดูแล้ง ส่วนในฤดูฝนให้กลบดินหนาขึ้นเป็น 2 เท่า

การใส่ปุ๋ยอ้อยให้ได้ผลเต็มประสิทธิภาพ

อ้อยเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ไม่สามารถปลูกแล้วปล่อยให้เติบโตไปตามธรรมชาติได้เลย เพราะจะแคระแกร็นจนเอาผลผลิตไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ ต้องอาศัยการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมเข้าไปช่วยเท่านั้น เทคนิคการใช้ปุ๋ยกับต้นอ้อยก็คือ ต้องมีการผสมผสานระหว่างปุ๋ยธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ กับปุ๋ยเคมีเข้าด้วยกัน

เพื่อให้ต้นอ้อยได้รับธาตุอาหารอย่างเต็มที่ พร้อมกับการบำรุงรักษาเนื้อดินให้อุดมสมบูรณ์และเหมาะสมกับการเพาะปลูกอยู่เสมอ ถ้าต้องการให้การใส่ปุ๋ยนั้นตรงจุดมากที่สุดก็ต้องมีการวิเคราะห์ดินอย่างถี่ถ้วน โดยเกษตรกรสามารถนำตัวอย่างดินเพียงเล็กน้อย แต่สุ่มเก็บจาก 3–5 จุดบนพื้นที่ของตนเอง

แล้วใส่ภาชนะที่ปิดมิดชิดเพื่อนำส่งห้องปฏิบัติการทางธรณี ให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบให้ต่อไป ไม่นานเท่าไรก็จะได้ผลลัพธ์ออกมาว่า ที่ดินของเรานั้นมีธาตุอะไรอยู่มากและขาดธาตุตัวไหนมากที่สุด แล้วค่อยใช้ข้อมูลดังกล่าวประกอบการตัดสินใจเลือกสูตรปุ๋ยที่จะใช้

การใส่ปุ๋ยให้ต้นอ้อยจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่

– ปุ๋ยรองพื้น เป็นปุ๋ยที่ใส่เพื่อปรับปรุงดินตั้งแต่ก่อนปลูกหรืออย่างน้อยๆ ก็ใส่ไปพร้อมกับการลงปลูกเลย สูตรปุ๋ยที่ใช้ในช่วงนี้ต้องเป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลักครบถ้วนทั้ง 3 ตัว คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ปกติแล้วจะใช้ที่ปริมาณ 50–100 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ไร่

– ปุ๋ยแต่งหน้า เป็นปุ๋ยที่ใส่ให้ต้นอ้อยเพิ่มตอนที่อายุยังไม่เกิน 4 เดือน ช่วงนี้เน้นว่าให้เป็นปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเดียวไปเลย เพราะต้องการเร่งการเจริญเติบโตของลำต้น บำรุงให้ต้นอวบอ้วนสวยงาม ช่วงนี้ให้ใช้ในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ไร่

นอกจากจะใส่ปุ๋ยให้ถูกที่ถูกเวลาแล้ว ก็ต้องควบคุมเรื่องของการให้น้ำควบคู่กันไปด้วย จะให้แบบตามร่องน้ำ แบบฝอยหรือแบบน้ำหยดก็ได้ แต่ต้องให้น้ำอย่างน้อยที่สุด 850 มม.ต่อปี การให้น้ำอย่างเพียงพอเป็นปัจจัยหนึ่งในการช่วยเพิ่มผลผลิตให้แก่ไร่อ้อยอีกด้วย ส่วนสำคัญอยู่ที่ช่วงแรกสุดกับหลังสุด ทันทีที่ปลูก อ้อยจะขาดน้ำไม่ได้เลยในช่วง 6 เดือนแรก และต้องหยุดการให้น้ำก่อนทำการตัดอ้อยราวๆ 2 เดือน

ระยะการเติบโตของต้นอ้อยจะแบ่งได้ 4 ระยะ คือ ระยะงอก นับตั้งแต่ปลูกจนถึงช่วงที่มีหน่อโผล่ให้เห็น ระยะแตกกอ อยู่ในช่วงเวลาราวๆ เดือนครึ่งถึง 4 เดือน จะมีการแตกกอใหม่จากบริเวณที่เป็นตาของท่อนพันธุ์ที่ฝังไว้ใต้ดิน ระยะนี้หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม อ้อยจะแตกกอได้จำนวนมาก

ระยะย่างปล้อง จะต่อมาจากระยะแตกกอ คือเป็นการเพิ่มขนาดของปล้องอ้อย ความยาวยืดขึ้นและลำปล้องอวบขึ้น เริ่มมีการสะสมปริมาณน้ำตาลในต้นอ้อยแล้ว ระยะนี้กินเวลากว่า 4 เดือน ระยะสุดท้ายคือระยะแก่และสุก ช่วงนี้ไม่ค่อยมีอัตราการเติบโตให้เห็นแล้ว สีของท่อนอ้อยจะเปลี่ยนไป เดิมเป็นสีอ่อนจะเริ่มเข้มขึ้นเรื่อย

โดยไล่จากโคนขึ้นสู่ยอด ในแต่ละช่วงวัยจะมีโรคและแมลงมารบกวนแตกต่างกัน ยิ่งในช่วงสุกที่อ้อยมีความหอมหวานต้องระวังแมลงให้มาก อาจะใช้ยาฉีดพ่นเข้ามาช่วยได้เล็กน้อย แต่ก็อย่าให้มากเกินไปเพราะจะมีผลสะสมในเนื้ออ้อยไปจนถึงเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ยาฉีดพ่นเองด้วย


 ในการดูแลต้นอ้อยนั้น ต้องใช้ปุ๋ยที่สามารถให้ธาตุอาหารครบถ้วนด้วย ซึ่งปุ๋ยไซโตเราพิเศษกว่าใคร เพราะเรามีสูตรผสมที่เข้มข้นมากขึ้น เช่น สารครีเล็ต เมื่อทำงานประสานร่วมร่วมกับฮอร์โมนไซโตไคนิน ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ของการใช้ปุ๋ยอย่างแท้จริง โดยสามารถลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยได้ถึง 50% เพิ่มผลผลิตได้มากกว่า 40% ด้วยประสิทธิภาพที่ดีมากๆของปุ๋ยไซโต จึงทำให้ยอดการสั่งปุ๋ยไซโตเพิ่มขึ้นอย่างมาก

ที่มา www.cyto.biz(ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยมูลค้างคาว ปุ๋ยไซโต)

Comments


bottom of page