top of page

การปลูกมะเขือยาว

อัปเดตเมื่อ 23 พ.ย. 2561

การปลูกมะเขือยาว

ชื่อวงศ์Solanaceaeชื่อวิทยาศาสตร์Solanum melongena L.ชื่อสามัญ Egg Plant

มะเขือยาวเป็นหนึ่งในพืชตระกูลมะเขือที่ปลูกได้ไม่ยากขึ้นและเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด แต่สิ่งสำคัญในการปลูกมะเขือยาวนั้นต้องดูแลเรื่องธาตุอาหารให้มากเพราะว่ามะเขือยาวเป็นพืชที่ต้องการธาตุอาหารมาก มะเขือยาวสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปีและทนต่อสภาพอากาศได้เป็นอย่างดี แถมยังมีอายุยาวข้ามปีอีกด้วย ดินมีความเป็น กรดเป็นด่าง อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ปลูกได้ ตลอดปี และทั่วทุกภาค ของไปประเทศไทย มะเขือยาว เป็นพืชที่เรา ใช้ส่วนผล ในการบริโภค ใช้เป็นผักสด หรือประกอบ อาหารได้หลายชนิดแต่ถ้าอยากให้มะเขือยาวมีอายุยืนยาวเราต้องหมั่นดูแลต้นมะเขือเทศให้ดีทั้งเรื่องโรคพืชและแมลงศัตรูพืช อายุเฉลี่ยอาจจะถึง 2 ปีเลยทีเดียว

การปลูกมะเขือยาวในกระถางหรือภาชนะเราควรที่จะเลือกภาชนะที่ก้นลึกเพราะว่าเป็นพืชที่มีรากค่อนข้างลึก จึงไม่ชอบน้ำท่วมขัง ดินที่ปลูกต้องเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี ซึ่งดินที่สามารถระบายน้ำได้ดีต้องเป็นดินร่วนซุยนั้นเอง ตอนนี้ในประเทศไทยมีการปลูกมะเขือยาวอยู่ 2 พันธุ์ด้วยกัน คือพันธุ์ที่ผลเป็นสีเขียว และพันธุ์ที่ผลเป็นสีม่วงรสชาติอร่อยทั้งคู่

มะเขือยาว จำนวน 1 ไร่ จะได้ผลผลิตต่อครั้ง ราว 100 ถุง(ถุง 5 กิโลกรัม) เมื่อจำหน่ายได้ราคากิโลกรัมละ 5 บาท ? 15 บาท ขึ้นอยู่กับฤดูที่เก็บผลผลิตหากเป็นฤดูแล้ง จะจำหน่ายได้ในราคาที่สูงกว่าในฤดูฝน ดังนั้นหากคิดในราคากิโลกรัมละ 5 บาท ผลผลิตมะเขือจากจำนวนพื้นที่ปลูก 1 ไร่ จะสามารถจำหน่ายได้ราว 3,500 บาทต่อครั้ง ซึ่งผลผลิตมะเขือสามารถเก็บได้ 2- 3 วัน/ครั้ง และแน่นอนที่สุดปริมาณผลผลิตขนาดนี้แสดงให้เห็นว่ามะเขือยาวเป็นพืชที่ต้องการปุ๋ยและสารอาหารมากจริงๆ

การเพาะเมล็ดพันธุ์

1.นำเมล็ดพันธุ์มะเขือยาวมาแช่ในน้ำซึ่งใช้สาหร่ายผงในอัตราส่วนกรัม10กรัม/น้ำ20ลิตร+ เชื้อราไตรโครเดอร์มา 200ซีซี/น้ำ20ลิตร +สารจับใบสำหรับชีวภัณฑ์ 2ซีซี/น้ำ20ลิตร ทิ้งไว้1คืนเพื่อส่งเสริมให้การงอกของเมล็ดและสำคัญยิ่งกว่าคือกำจัดเชื้อโรคพืชที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ส่งเสริมให้มะเขือยาวมีความต้านทานโรคพืชมากกว่าปกติ

2. เทคนิคการเพาะที่ทำให้ต้นกล้าแข็งแรงสมบูรณ์ก่อนย้ายปลูกจะต้องเพาะเมล็ดให้งอกก่อนในวัสดุเพาะอย่างอื่น พีทมอสและขุยมะพร้าว โดยใช้ถาดหลุมเป็นที่เพาะเมล็ดเกลี่ยวัสดุเพาะให้เต็มหลุมถาดเพาะ ฝังเมล็ดมะเขือยาว 1/4 นิ้วลึก เกลี่ยกลบด้วยวัสดุเพาะการงอกของกล้ามะเขือยาวต้องการอุณหภูมิดินประมาณ 26.6-32.2 องศา C รดน้ำโดยใช้หัวสเปรย์ละเอียดให้ละอองน้ำเพื่อให้วัสดุเพาะชื้นเมล็ดจะงอกใช้เวลาประมาณ 7-14 วัน หลังจากนั้น ในวัสดุเพาะสำเร็จรูปที่อยู่ในถาดเพาะใช้เวลาอีก 14-15 วันจึงนำต้นกล้าย้ายปลูกได้ต้นกล้าที่จะย้ายลงปลูกในแปลงควรมีอายุการเพาะประมาณ1เดือนจึงย้ายไปปลูก ซึ่งต้นกล้าจะต้องมีใบ 6-7 และความสูง 10-12ซม. สูงส่วนต้นกล้าที่เล็กและอ่อนแอให้เกษตรกรถอนทิ้งไม่ต้องนำไปปลูก

ในการเพาะกล้ามะเขือยาวนี้เกษตรกรที่เป็นมืออาชีพหรือเพาะในปริมาณมากควรวางถาดเพาะในเรือนกระจกหรือโรงเพาะชำที่เป็นผ้ายางพลาสติกสีขาวใสเป็นกระบวนการอบนั้นเองวิธีการนี้จะทำให้กล้ามะเขือยาวเติบโตได้ดีและไม่มีแมลงรบกวนแต่วิธีนี้เมื่อได้ขนาดแล้วต้องนำถาดเพาะมาวางในที่ร่มมีแสงรำไรก่อนย้ายต้นกล้า3-4วันเพื่อให้ต้นกล้ามะเขือยาวปรับตัวกับความร้อนและอุณหภูมิภายนอกเนื่องจากการอบจะทำให้เซลพืชขยายตัวได้ดีแต่ไม่ค่อยจะแข็งแรง ในขั้นตอนนี้เกษตรกรการรักษาดูแลต้นกล้าเพื่อหลีกเลี่ยงต้นแคระแกรนจากแมลงเช่นเพลี้ยอ่อนและเพลี้ยจักจั่นต้องจะมีการควบคุมเพื่อหลีกเลี่ยงการนำไวรัสเข้าสู่กล้ามะเขือยาว

การเตรียมดินปลูก ควรพิจารณาความแตกต่างตามสภาพของดินและระดับน้ำดังนี้ คือ

1. การเตรียมดินสำหรับพื้นที่ปลูกลาดเอียง ควรขุดหรือไถดินให้ลึกประมาณ 15 ซม. ตากดิน 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวแล้วประมาณ 20 กก. ต่อเนื้อที่5 ตารางเมตร ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา200ซีซี/น้ำ20ลิตรและสารสกัดฮิวมิคผงผสมน้ำฉีดพ่นให้ทั่วแปลงปลูกเพื่อป้องกันเชื้อราโรคพืชที่อยู่ในดินจากนั้น พรวนย่อยผิวหน้าดินให้ละเอียด

ปุ๋ยที่ใช้ในการโรยแปลงหลีกเลี่ยงการใช้ขี้วัวกินหญ้าที่ปล่อยเลี้ยงตามทุ่งเนื่องจากมีเมล็ดหญ้ามากจะก่อปัญหาให้กับเกษตรกรในอนาคตในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ควรเอามาหมักกับพ.ด.1เสียก่อน

2. การเตรียดปลูกในเขตน้ำฝน ต้องพิจารณาเลือกที่ซึ่งระบายน้ำได้ดี การกำหนดแถวปลูกให้กำหนดแถวคู่ห่างกัน 2 ม. และให้ระยะระหว่างแถวห่างกัน 1 ม. ระยะระหว่างต้น 1 X 1 ม. เมื่อเตรียมแปลงปลูกแล้วให้ใส่ปุ๋ยหมักหรือขี้วัวขุนหรือขี้หมูเนื้อ ในอัตราไร่ละ 1,200 ? 3,000 กก. ทำการคลุกปุ๋ยคอกให้เข้ากับดินแล้วใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตรา 50 กก. ต่อไร่ ในการปลูกพืชที่ต้องการปริมาณน้ำหรือพืชชอบน้ำนั้นเกษตรกรต้องทำการยกร่องแปลงเสมอเพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณโคนต้น

การติดตั้งระบบน้ำในแปลงมะเขือยาว

พริก,พริกขี้หนู,พริกชี้ฟ้า,การปลูกพริก,โรคพริก,พริกเน่า,วิธีการปลูกพริก,การปลูกผักสวนครัว,การปลูกพริกหวาน

1.การให้น้ำด้วยระบบสปริงเกอร์ เป็นวิธีที่เกษตรกรใช้กันมาช้านาน เป็นสปริงเกอร์แบบใบพัดหมุนวน

ข้อดีคือน้ำกระจายตัวไปทั่วแปลงจ่ายปริมาณน้ำได้สูงใช้เวลาสั้นในการให้น้ำสร้างความชุ่มชื้นให้ต้นพริกและแปลงปลูกและยังช่วยไล่แมลงศัตรูพืชได้อีกด้วย

ข้อเสียคือ เกิดเชื้อโรคพืชได้ง่ายเนื่องจากความชื้นหลีกเลี่ยงการรดน้ำต้นพริกตอนเย็น และในกรณีที่แหล่งน้ำไม่สะอาดมีการปนเปื้อนของสารเคมีจากแหล่งน้ำก็จะมีผลต่อต้นพริก

2.มินิสปริงเกอร์แบบหัวฉีดฝอย ระบบนี้เหมาะกับการปลูกพริกต้นคู่ในแปลงปลูกเดินท่อpeตรงกลางแถวคู่และเปิดจ่ายน้ำผ่านหัวมินิสปริงเกอร์แบบฉีดฝอยรัศมีความกว้างของน้ำสามารถควบคุมได้โดยแรงดันจากปั๊มน้ำระบบนี้สามารถปล่อยปุ๋ยไปพร้อมกับระบบน้ำได้

ระบบนี้ค่อนข้างจะเป็นที่นิยมเนื่องจากเป็นการสร้างความชื้นให้ทั่วหน้าดินและรดใต้ทรงพุ่มเท่านั้น ข้อเสียคือต้องใช้เวลาในการให้น้ำนานการระบบสปริงเกอร์แบบใบพัดและหัวฉีดอุดตันได้ง่ายกว่าดังนั้นน้ำที่ใช้ต้องผ่านระบบกรองที่ดีพอสมควรไม่มีเศษใดๆหรือลูกปลาลูกกุ้งเข้ามาในระบบการให้น้ำ

รดน้ำในทุกเช้าโดยให้เกิดความชื้นแต่ต้องไม่เปียกแฉะทั้งแปลงหลีกเลี่ยงการรดน้ำในตอนเย็นซึ่งเชื้อราโรคพืชจะเจริญเติบโตได้ดี ในการติดตั้งระบบน้ำเกษตรกรควรหลีกเลี่ยงระบบน้ำหยด

การปลูกมะเขือยาว

เมื่อเกษตรกรเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้วก็เริ่มการปลูกโดยก่อนปลูก1วันให้เกษตรกรรดน้ำในแปลงปลูกให้เกิดความชื้นในชั้นดิน ขุดหลุมขนาด 30×30เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพผสมกับฮิวมิคผง+ปุ๋ยเคมี24-7-7 (1ช้อนชา) ใส่ลงไปในหลุมปลูกมะเขือยาวสูงขึ้นมาจากก้นหลุม10-15เซนติเมตร ตอกหลักไม้ไผ่รวกที่มีความยาว1-1.5เมตร ลงไปในกลางหลุม

เมื่อเตรียมหลุมปลูกพร้อมแล้วให้เกษตรกรทำการย้ายถาดเพาะลงไปในแปลงปลูก ปลูกแล้วกลบด้วยดินผสมกับปุ๋ยหมักในอัตราส่วนดิน2:ปุ๋ยหมัก1ส่วนจากนั้นทำการผูกต้นกล้ามะเขือยาวกับหลักเลือกใช้เชือกยางยืดหรือเศษผ้าเนื่องจากกล้ามะเขืออ่อนและหักง่ายเมื่อเจอลมแรง ในกรณีที่ไม่ผูกมัดต้นจะเอียงและล้มไม่ตั้งตรงเมื่อติดผลจะหักและผลของมะเขือยาวจะตั้งพื้นทำให้รูปร่างไม่สวยราคาไม่ดี หลักจากปลูกแล้วทำการเปิดระบบน้ำรดน้ำให้ชุ่มชื้นทั้งแปลง

ที่มา www.cyto.biz (ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยมูลค้างคาว ปุ๋ยไซโต)




Comments


bottom of page